อานาปานสติ (–ปานะสะติ) มีอยู่ 16 คู่ คือ
1.หายใจเข้า-ออกยาวรู้
2.หายใจเข้า-ออกสั้นรู้ (ลมหายใจเริ่มละเอียดขึ้นเมื่อใจเป็นสมาธิ)
3.หายใจเข้า-ออกกำหนดกองลมทั้งปวง (จิตจะกำหนดแต่กองลมในกาย ถ้าบริกรรมคำใดอยู่ เช่น พุทโธ คำบริกรรมจะหายไปเอง)
4.หายใจเข้า-ออกเห็นกองลมทั้งปวงสงบก็รู้ (จับลมหายใจไม่ได้เหมือนลมหายใจหายไป)
5.หายใจเข้า-ออกปีติ เกิดก็รู้
6.หายใจเข้า-ออก สุขเกิดก็รู้
7.หายใจเข้า-ออก กำหนดจิตสังขาร (อารมณ์ต่างๆที่จรเข้ามาปรุงแต่งจิต เช่น รัก ราคะ โกรธ หลง) ทั้งปวง /ที่เหลือเพียงอารมณ์อุเบกขา
8.หายใจเข้า-ออก เห็นจิตสังขารสงบก็รู้
9.หายใจเข้า-ออก พิจารณาจิต (พิจารณาสภาวะรู้)/ว่าจิตพิจารณารู้ในอานาปานสติอยู่
10.หายใจเข้า-ออกจิตบันเทิง (มโน-สภาวะที่น้อมพิจารณาเพ่งอยู่/ยินดีในองค์ภาวนาอานาปานสติ) ก็รู้
11.หายใจเข้า-ออก จิตตั้งมั่น (ในอารมณ์นิมิตรอานาปานสติ) ก็รู้
12.หายใจเข้า-ออกจิตเปลื้อง (ในสัญญาในอารมณ์นิมิตรอานาปานสติ) ก็รู้
13.หายใจเข้า-ออก พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง (อนิจจัง ) ในขันธ์ทั้ง 5 (มีลมหายใจเป็นตัวแทนรูปขันธ์)
14.หายใจเข้า-ออก พิจารณาโดยไม่ปรุงแต่ง (เช่น ต้นไม้ย่อมมีลักษณะเป็นไปตามธรรมชาติ เราตัดสินว่าต้นไม้นี่ลักษณะสวย ต้นไม้นี่ลักษณะไม่สวย)
15หายใจเข้า-ออก พิจารณาโดยไม่ยึดติด ( เช่นมีคนนำขวดน้ำมาวางไว้ข้างหน้าเรา ให้เรา ต่อมามีคนคว้ามันไปกิน เราโกรธว่ากินน้ำเรา คือ ความยึดมั่นนั้นเพิ่งเกิด เมื่อเราไปยึดไว้)
16.หายใจเข้า-ออกปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ (ปฏินิสสัคคายะ)
จัดให้ข้อ1-4เป็นกายานุปัสสนา ข้อ5-8เป็นเวทนานุปัสสนา ข้อ9-12จัดเป็นจิตตานุปัสนา ข้อ13-16จัดเป็นธรรมนุปัสสนา
อานาปานสติเป็นกรรมฐานที่เหมาะสมกับคนทุกคน และเลือกได้หลากหลาย มีความลึกซึ้งมากดังจะอธิบายต่อไป เนื่องจากอานาปานสติสามารถที่ภาวนาลัดให้มาสู่สัมมสนญาน 1ในญาณ16ได้ โดยไม่ต้องเจริญสติและพิจารณาสัญญา10ไปด้วยเหมือนอย่างอื่นๆ เมื่อเจริญอานาปานสติตามข้อ1 สภาวะย่อมเป็นไปโดยลำดับจากข้อ 1 จนถึงข้อ12 จิตจะเป็นปฐมฌาณอันเกิดจากการเจริญสติ (เกิดสัมมสนญาณ) จะพบเห็นขันธ์ทั้งห้าที่หลงเหลืออยู่ในขณะขั้นเกิดดับได้ เมื่อขณะจิตเป็นฌาณ ซึ่งเหลือเพียง10สภาวะ โดยที่ข้อ3-4เป็นรูปขันธ์ ข้อ5-6เป็นเวทนาขันธ์ (มีเพียงปีติและสุข) ข้อ7-8เป็นสังขารขันธ์ ข้อ9-10เป็นวิญญาณขันธ์ ข้อ11-12เป็นสัญญาขันธ์ เมื่อเห็นขันธ์ทั้งห้า ตามตั้งแต่ข้อ3-12ย่อมเห็นขันธ์ห้า (อันมีลมหายใจเป็นตัวแทนแห่งรูปขันธ์) เกิดดับตลอดจนเห็นเป็นอนิจจัง ( ข้อ13หายใจเข้า-ออก พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ) โดยสมบูรณ์พิจารณาข้อ13ไปจนบรรลุข้อ14หายใจเข้า-ออก พิจารณาโดยไม่ปรุงแต่ง ,15พิจารณาโดยไม่ยึดติด ,16 หายใจเข้า-ออกปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ แต่ในอานาปานสติ16 ข้อผู้เริ่มปฏิบัติสามารถที่จะเลือกเริ่มปฏิบัติในข้อ1 ข้อ5 ข้อ9 และข้อ13
ดึงข้อมูลจาก "http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B4".
เพิ่มเติม
ขั้นที่1 เกี่ยวกับลมหายใจยาว
หัดหายใจยาว ศึกษาลมหายใจยาวว่า มีลักษณะอย่างไร มีอาการอย่างไร มีธรรมชาติอย่างไร มีอิทธิพลอย่างไร มีปฏิกิริยาอย่างไร รู้กันให้หมด และ กำหนดให้ได้อยู่อย่างนั้น(จิตยู่ที่ลมหายใจยาวตลอดเวลา)
ขั้นที่2 เกี่ยวกับลมหายใจสั้น
หัดหายใจสั้น ศึกษาลมหายใจสั้นว่า มีลักษณะอย่างไร มีอาการอย่างไร มีธรรมชาติอย่างไร มีอิทธิพลอย่างไร มีปฏิกิริยาอย่างไร รู้กันให้หมด และ กำหนดให้ได้อยู่อย่างนั้น(จิตยู่ที่ลมหายใจสั้นตลอดเวลา)
ขั้นที่3 รู้จักกายทั้งปวง
เราเปรียบ "ลมหายใจ" เป็นกาย(รูป ในขันธ์5) ศึกษาดูว่า กายลม กับ กายเนื้อ เกี่ยวข้องกันอย่างไร นั่งกำนดว่าถ้าหายใจอย่างนี้ กายเนื้อเป็นอย่างไร ลมหายใจ ยาว สั้น หยาบ ละเอียด กายเนื้อเป็นอย่างไร
ขั้นที่4 ทำให้กายสังขารระงับ
เราสามารถบังคับใจได้โดยผ่านทางกาย
เราสามารถบังคับกายได้โดยผ่านทางลมหายใจ
เมื่อลมหายใจสงบระงับ กายก็สงบระงับ เกิดความสงบระงับขึ้นในระบบกายเป็นขั้นๆชั้นๆละเอียดๆ โดยทำอารมณ์สำหรับบังคับนั้นเป็นขั้นๆชั้นๆละเอียดๆตามลำดับ
1.กำหนดที่ลมหายใจโดยตรง
2.กำหนดตรงที่ลมหายใจกระทบ
3.กำหนดตรงที่ลมหายใจตกกระทบ แล้วสร้างนิมิตง่ายๆขึ้นมาใหม่ แล้วก็กำหนดนิมิตนั้นแทน
4.กำหนดนิมิตและสามารถเปลี่ยนแปลงลักษณะของนิมิตได้
อธิบายเพิ่มเติมขั้นที่4
1.ตอนแรกๆเรายังไม่ชำนาญในการกำหนด สติจะไม่ค่อยอยู่กับลมหายใจนาน เผลอจะหายไปคิดเรื่องอื่นทันที่ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา ดังนั้นขั้น1จึงให้กำหนดที่ลมหายใจโดยตรง ให้ตามมันไปตลอด คือ หายใจเข้าก็ตามไปตั้งแต่จมูกเข้าไปสุดที่สะดือ แล้วตามออกมาจากสะดือ ออกมาที่จมูกอีกครั้ง สติก็จะไม่หายไปไหน
2.เมื่อชำนาญมากขึ้นสติไม่ค่อยหนี้ไปไหนแล้วก็เปลี่ยนมากำหนดหรือเฝ้าที่ใดที่หนึ่งแทน ในที่นี้ก็คือปลายจมูกจุดที่ลมหายใจกระทบ ขั้นนี้เราจะไม่ตามลมหายใจไป
3.พอเราเฝ้าดูลมหายใจที่ใดที่หนึ่งนานๆจะเกิดอาการที่คล้ายกับว่า ลมหายใจหายไป(จริงๆไม่ได้หายไปไหน แต่มันละเอียดขึ้นมากๆ)จนยากที่จะกำหนดในขั้นที่2ต่อได้ เราก็พัฒนามากำหนดตรงจุดที่ลมหายใจกระทบนั้นเป็น นิมิตง่ายๆขึ้นมาแทน นิมิตนี้ไม่ใช่ของจริงอะไร แต่เราสร้างขึ้น กำหนดขึ้น (จะเป็น ดวงขาว ดวงเขียว ดวงแดง บ้างที่ก็เหมือนใยแมงมุมวาวๆในแสงแดด เหล่านี้เป็นตัวอย่าง ซึ่งจะไม่เหมือนกันทุกคน)
4.ที่นี้พอชำนาญมากขึ้น ก็สามารถบังคับให้นิมิตนั้นเปลี่ยนได้ ใหญ่-เล็ก , เล็ก-ใหญ่ , เปลี่ยนสีไปมา , เปลี่ยนอิริยาบทให้มันลอยไปลอยมาได้ ตามจิตว่าจะให้เปลี่ยนอย่างไร เป็นสิ่งที่ทำได้ตามแบบธรรมชาติ ตามกฏของธรรมชาติ ไม่ใช่เรื่องแปลกอย่างไร
แทรก ลำดับของสมาธิ
1.อุคคหนิมิต นิมิตง่ายๆที่เราฝึกสร้างขึ้นมาตอนแรก [เริ่มมีอำนาจบังคับจิตได้แล้ว]
2.ปฏิภาคนิมิต เมื่อชำนาญขึ้นสามารถบังคับนิมิตได้ในลักษณะต่างๆ [มีอำนาจบังคับจิตได้แล้ว]
3.องค์ณาน หรือ องค์สมาธิ เมื่อชำนาญมากขึ้นการคอยเฝ้าดูความรู้สึกแก่จิต มันอยู่ในอำนาจแล้ว มันรวมอยู่ที่จุดๆเดียว มันแสดงลักษณะอะไรบ้างที่กำหนดได้
3.1.ณานที่1 ปฐมณาน ประกอบด้วยองค์ประกอบ5อย่าง คือ วิตก วิจารณ์ ปิติ สุข เอกัคคตา
3.2.ณานที่2 ทุติยณาน ประกอบด้วยองค์ประกอบ3อย่างคือ ปิติ สุข เอกัคคตา
3.3 ณานที่3 ตติยณาน ประกอบไปด้วยองค์ประกอบ2อย่างคือ สุข เอกัคคตา
3.4 ณานที่4 จตุตถณาน ประกอบด้วยองค์ประกอบอย่างเดียวคือ เอกัคคตา
อธิบายเพิ่มเติม 1
วิตก คือ กำหนดที่อารมณ์ได้
วิจารณ์ คือ รู้สึกต่ออารมณ์ได้
ปิติ คือ ความพอใจ ปราโมทย์ที่บังคับได้
สุข คือ สิ่งที่ตามมาเพราะปิติ
เอกัคคตา คือ การรวมยอดอยู่ที่นั้น
อธิบายเพิ่มเติม 2
การเลื่อนขั้นณาน
1.แรกเริ่มมีองค์ประกอบครบ5อย่างคือ วิตก วิจารณ์ ปิติ สุข เอกัคคตา เป็น ปฐมณาน
2.กำหนดละเอียดขึ้นเหลือ ปิติ สุข เอกัคคตา(วิตก วิจารณ์ หายไป) เป็น ทุติยณาน
3.กำหนดละเอียดขึ้นเหลือ สุข เอกัคคตา(ปิติ หายไป) เป็น ตติยณาน
4.กำหนดละเอียดขึ้นเหลือ เอกัคคตา(สุข หายไป) เป็น จตุตถณาน
จะเห็นว่า อานาปานสติในหมวดที่1 กายนุปัสสนา เป็นการฝึกเกี่ยวกับ สมถะ ส่วนหมวดที่เหลือ จะเป็นการฝึกเกี่ยวกับ วิปัสสนา
พุทธศาสนาอาจแบ่งได้เป็น3ขั้นตอนใหญ่ๆคือ ปริยัติ - ปฏิบัติ - ปฏิเวท
ปริยัติ คือ ภาคทฤษฎี เป็นการ ฟัง , อ่าน , จดจำ ข้อธรรมต่างๆให้เข้าใจก่อน
ปฏิบัติ คือ ภาคปฏิบัติ เป็นการนำความรู้จากการปริยัติ มาทำให้เกิดผลขึ้นมา
ปฏิเวท คือ ผลที่เกิดสืบเนื่องมาจาก ปริยัติ และ ปฏิบัติ มีลำดับผลตามความมากน้อยต่างกันไป(กัณยาปุตตุชน , โสดาบัน , สกิทาคามี , อานาคามี , อรหันต์)
ในส่วนของการปฏิบัติเองก็แบ่งได้เป็น2ขั้นตอนใหญ่ๆคือ สมถะ กับ วิปัสสนา
สมถะ คือ การทำให้จิตเป็นสมาธิมากน้อยตามลำดับเพื่อใช้จิตที่เป็นสมาธินี้ไปพิจรณาในขั้นวิปัสสนา
วิปัสสนา คือ การนำเอากำลังของสมาธิมาพิจรณาข้อธรรมต่างๆ
อานาปานสติ 16 ขั้น เป็นการปฏิบัติที่มีทั้ง สมถะ และ วิปัสสนา พร้อมกันไปในตัว(เป็นหนึ่งในหลายๆแบบ)
ในพระบาลี(พระไตรปิฎกขั้นบาลี) อานาปานสติ มีอยู่ในสูตรสั้นๆชื่อว่า อานาปานสติสูตร ในมหาสติสูตร
พระพุทธองค์ตรัสว่า "เมื่อทำอานาปานสติครบ 16 ขั้นแล้ว สติปัฏฐาน 4 ก็สมบูรณ์ , เมื่อสติปัฏฐาน 4 สมบูรณ์แล้ว โพชฌงค์ก็สมบูรณ์ , เมื่อโพชฌงค์สมบูรณ์แล้ว วิชชา และ วิมุตติก็สมบูรณ์"
ข้อดีของอานาปานสติ มีหลายอย่างเช่น ลมหายใจมีกันทุกคนอยู่แล้วไม่ต้องไปหาที่ไหน , ทำได้ทุกที่ , ทำได้ทุกอริยาบท ๆลๆ
ที่มา:http://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/X2471717/X2471717.html
ทาวน์เฮาส์ 2 ชั้น ปุณกัณฑ์ ถ.ศรีตรัง ในซ.นภัสวรรณแมนชั่น
-
-ทาวน์เฮาส์ 2 ชั้น ปุณกัณฑ์ ถ.ศรีตรัง ในซ.นภัสวรรณแมนชั่น
-กว้าง 5 เมตร,ยาว 21 เมตร , 25 ตร.วา
-2 ห้องนอน(= 1 ห้องนอนใหญ่)
-2 ห้องน้ำ
-บ้านอายุประมาณ 5 ปี
-น...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น